top of page

หลักการดำเนินการให้ความช่วยเหลือ

SOP Inter Unit B Version 6.0:  January 29, 2021

ภาวะฉุกเฉิน
กรณีบุคลากรเกิดอุบัติเหตุสัมผัสเลือดเเละสารคัดหลั่งของอาสาสมัครในโครงการวิจัยขณะปฏิบัติหน้าที่ให้ถือว่าเป็นภาวะฉุกเฉินทางการแพทย์

1. กรณีบุคลากรเกิดอุบัติเหตุสัมผัสเลือดเหรือสารคัดหลั่งของอาสาสมัครในโครงการวิจัยที่มี

- เจ้าหน้าที่ที่ผ่านการอบรมการให้คำปรึกษาเพื่อตรวจเอชไอวี (HIV VCT) และ

SOP RIHES-Inter Unit-B 

- แพทย์ประจำโครงการที่สามารถให้การดูแลรักษาด้วยยาต้านไวรัสเอชไอวี และผ่านการอบรม SOP RIHES-Inter Unit-B

ให้ดำเนินการให้ความช่วยเหลือบุคลากรจะเสร็จสิ้นทุกขั้นตอนได้เลย

2.  กรณีอุบัติเหตุอื่นๆนอกเหนือจากข้างต้น ให้หัวหน้างานของบุคลากรที่เกิดอุบัติเหตุแจ้งทีม PEP ตามตาราง

3. สามารถดาวน์โหลดคู่มือและเอกสารต่างๆ และรายงานกรณีบุคลากรเกิดอุบัติเหตุได้ทางเว็บไซต์นี้

4.  การตรวจเลือดเอชไอวีของบุคลากรและอาสาสมัคร (Source) ในครั้งแรกต้องใช้วิธี Rapid test 2 วิธี ซึ่งจะสามารถทราบผลได้ภายใน 30 นาที การตรวจ Anti-HIV เพื่อ follow-up ให้ใช้วิธี Fourth-generation HIV Ag/Ab combination immunoassays

5. ผลการตรวจเลือดอื่น ๆ ในวันที่เกิดเหตุนอกจาก HIV Rapid test ต้องให้ได้ผลเร็วที่สุด ภายใน 1 วัน ยกเว้นการตรวจยืนยันผลเลือดเอชไอวีบวกอาจใช้เวลานานเกิน 1 วัน (ให้ถือตามแนวทางการวินิจฉัยการติดเชื้อเอชไอวีทางห้องปฏิบัติการสำหรับผู้ใหญ่และเด็กที่มีอายุ 18 เดือนขึ้นไปของกระทรวงสาธารณสุข) ให้แพทย์พิจารณาให้การป้องกันไปก่อน ไม่ต้องรอผลเลือดออกจนครบ

การรักษาความลับ

1. แบบฟอร์มทุกฟอร์ม (ยกเว้นฟอร์มที่ระบุในข้อ 2) ไม่มีการระบุชื่อ-นามสกุลของบุคลากร แต่จะใช้ Code แทน 

2. ฟอร์มที่มีการระบุชื่อของบุคลากรหรืออาสาสมัครได้แก่ แบบ 7500, ฟอร์ม 3 และ 4 ต้องแยกเก็บในซองสีน้ำตาล ปิดผนึกและเก็บไว้ที่ Pharmacy unit

3. ใช้การจัดเก็บข้อมูลในฐานข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ด้วยระบบ Redcap ที่มีรหัสผ่านป้องกัน โดยผู้ให้การปรึกษาและแพทย์ผู้ดูแลเฉพาะเท่านั้นที่สามารถเข้าถึงข้อมูลของแต่ละรายได้

ไม่มีการกำหนด Code ของบุคลากรไว้ล่วงหน้า ผู้ให้การปรึกษาสามารถกำหนด Code ของบุคลากรแต่ละรายได้เองโดยอิสระ และให้ทีมผู้ให้ความช่วยเหลือและบุคลากรจดจําและรักษา Code นั้นไว้เอง ส่วนแบบฟอร์มที่ใช้กับอาสาสมัคร (Source) ให้ใช้ PID ของโครงการนั้นๆ

4. เมื่อเสร็จสิ้นขั้นตอนในแต่ละ visit ให้นำซองเอกสารที่มีชื่อบุคลากรไปเก็บที่ Pharmacy unit ทุกครั้งโดยแยกซองเอกสารที่มีการระบุชื่อบุคลากร/อาสาสมัคร และซองเอกสารที่ไม่ระบุชื่อออกจากกัน

5. ผู้ที่มีสิทธิ์ทราบผลการตรวจเลือดของบุคลากรจะมีเพียง ผู้ให้คำปรึกษา แพทย์ผู้ดูแล และผู้อำนวยการสถาบัน ฯ เท่านั้น

ความสมัครใจ

1. การเจาะเลือดของบุคลากรและอาสาสมัครต้องมีการให้คําปรึกษาก่อน/หลังการเจาะเลือด และขอ
ความยินยอมทุกครั้ง โดยขอความยินยอมเป็ นลายลักษณ์อักษร หากไม่ได้ให้ขอความยินยอมโดย
วาจา (oral consent) แทน

2. บุคลากรจะได้รับการให้คำปรึกษาเกี่ยวกับการป้องกันการติดเชื้อด้วยยาต้านไวรัสเอชไอวีจากแพทย์ก่อนตัดสินใจรับยา

อย่ารอให้ล่าช้า

กรณีเฉพาะ เช่น การรายงานอุบัติเหตุล่าช้า บุคลากรสัมผัสเลือดหรือสารคัดหลั่งที่ไม่ทราบแหล่ง สงสัยหรือมีหลักฐานว่าอาสาสมัคร (source) มีปัญหาเชื้อดื้อยา บุคลากรกำลังตั้งครรภ์ เป็นต้น แพทยผู้ให้ความช่วยเหลืออาจจำเป็นต้องปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเพื่อขอคำแนะนำ อย่างไรก็ตามอาจพิจารณาให้การป้องกันไปก่อน อย่ารอจนการให้ความช่วยเหลือล่าช้าเกินไป

การรักษาความลับ
ความสมัครใจ
อย่ารอจนล่าช้า

แนวทางการตรวจด้วย Rapid test

แนวทางการตรวจด้วย EIA4th gen

ตารางเวรทีม PEP

bottom of page