พ.ศ. 2535
The CONRAD study เป็นโครงการวิจัยเกี่ยวกับเอชไอวีโครงการแรกที่สถาบันดำเนินการ เพื่อศึกษาหาความเสี่ยงในการติดเชื้อเอชไอวีในประชากรทางภาคเหนือ ผลของโครงการนี้ได้รับการตีพิมพ์ในวารสาร the New England Journal of Medicine ในปีพ.ศ. 2539
สถาบันได้ขยายภารกิจวิจัยจนครอบคลุมการวิจัยด้านเอชไอวีในทุกด้านตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา
พ.ศ. 2550
สถาบันวิจัยฯ ได้รับเลือกให้เป็นหน่วยวิจัยหนึ่งของสถาบันวิจัยสุขภาพ ประเทศสหรัฐอเมริกา (US National Institutes of Health)
โดยได้รับทุนวิจัยด้านเอชไอวี/เอดส์ร่วมกับศูนย์วิจัยโรคเอดส์ สภากาชาดไทยภายใต้ชื่อ
Thailand HIV/AIDS and Infectious Disease Clinical Trial Unit (THAI CTU)
พ.ศ. 2552
ศูนย์วิจัยโรคติดเชื้อและสารเสพติด (เดิมชื่อ ศูนย์วิจัยด้านโรคเอดส์และโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์) ตั้งขึ้นในปี 2552 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อประสานงานระหว่างทีมวิจัยเพื่อให้เกิดความร่วมมือทั้งภายในและภายนอกโครงการวิจัยอย่างมีประสิทธิภาพ
นักวิจัยหลัก
หน่วยวิจัยคลินิกรักษ์สุขภาพ
หน่วยวิจัยคลินิกรักษ์สุขภาพได้เข้าร่วมวิจัยกับเครือข่าย AIDS clinical trials group (ACTG) network ซึ่งเป็นเครือข่ายวิจัยด้านการรักษาโรคติดเชื้อเอชไอวีและโรคร่วมในผู้ใหญ่ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2548 จนถึงปัจจุบันเราได้ดำเนินโครงการวิจัยทางคลินิกแบบสุ่มที่มีกลุ่มควบคุมมากกว่า 15 โครงการ อาสาสมัครมากกว่า 600 รายมารับการดูแลที่คลินิกรักษ์สุขภาพ ภารกิจหลักของเราคือ ดำเนินงานวิจัยที่มีคุณภาพระดับสากลเพื่อหาทางเลือกใหม่ที่ดีกว่าในการดูแลรักษาผู้ติดเชื้อเอชไอวี และโรคติดเชื้ออื่นๆ
Patumrat SripanPublic Health Biostatistics, Ph.D. Investigator | Linda AurpibulM.D., M.P.H. Investigator | Nuntisa ChotirosniramitM.D. Investigator | Patcharaphan SugandhavesaM.D. Investigator | Arunrat TangmunkongvorakulPh.D. Investigator | Natthapol KosachunhananM.D. Instructor, Investigator | Taweewat SupindhamM.D. Investigator |
---|---|---|---|---|---|---|
Amaraporn RerkasemM.D. Investigator | Kanittha ThaiklaStatistician, Expert Level Investigator |
หน่วยวิจัยคลินิกครอบครัว
หน่วยวิจัยคลินิกครอบครัวมีประสบการณ์ในการศึกษาวิจัยในหญิงตั้งครรภ์ ทารก เด็กและวัยรุ่น ทั้งที่ติดเชื้อเเละไม่ติดเชื้อเอชไอวี โดยได้รับทุนวิจัยหลักจากสถาบันสุขภาพแห่งชาติ สหรัฐอเมริกา โดยผ่านเครือข่ายวิจัยอิมแพค the International Maternal Pediatric Adolescent AIDS Clinical Trials (IMPAACT) Network
และได้รับทุนสนับสนุนอื่นๆจากทั้งรัฐบาลไทย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และ บริษัทผู้ผลิตยา
ในเดือน กรกฎาคม พ.ศ. 2559 หน่วยวิจัยคลินิกครอบครัวผ่านการตรวจสอบจากหน่วยงานสำคัญของสหภาพยุโรป the European Medicines Agency (EMA) ในฐานะที่เป็นหน่วยวิจัยแห่งหนึ่งของโครงการ IMPAACT P1093
หน่วยวิจัยพิมานคลินิก
พิมานคลินิกตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2551 เพื่อให้บริการเข้าถึงกลุ่มชายที่มีเพศสัมพันธ์กับชาย (MSM) และสาวประเภทสอง (TGW) ซึ่งมีความเสี่ยงสูงต่อการติดเชื้อเอชไอวี ประสบการณ์การวิจัยของเราได้แก่ การศึกษา iPrEx ซึ่งเป็นงานวิจัยชิ้นสำคัญในการป้องกันการติดเชื้อล่วงหน้าในกลุ่ม MSM และ TG, การศึกษา MTN 017 และขณะนี้เรากำลังทำการศึกษา HPTN 083
นอกจากนี้ยังดำเนินกิจกรรมการวิจัยอื่น ๆ ได้แก่ บริการให้การปรึกษาและการตรวจเลือดเพื่อหาเชื้อเอชไอวีโดยสมัครใจ (HIV VCT) ฟรีสำหรับกลุ่ม MSM / TGW ตั้งแต่ปี 2551,
การศึกษา HPV ใน MSM ในปี 2555,
การศึกษานำร่องสำหรับการป้องกันการติดเชื้อล่วงหน้า ฟรีในปี 2558 และ
การศึกษาป้องกันการติดเชื้อเอชไอวีก่อนและหลังสัมผัสเชื้อโดยมีการร่วมจ่ายในปี 2560
ทีมวิจัยพฤติกรรมสุขภาพ
ดร. อรุณรัตน์และทีมศึกษาวิจัยด้านพฤติกรรมทางเพศ โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์และเอชไอวี มีประสบการณ์ในการทำงานวิจัยเชิงคุณภาพและแบบผสมผสานบูรณาการการวิจัยเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพเข้าด้วยกัน โดยร่วมมือกับหน่วยงานต่าง ๆ ในการทำวิจัยกับกลุ่มประชากรหลากหลายตั้งแต่กลุ่มเด็กและเยาวชน ชายที่มีเพศสัมพันธ์กับชาย กลุ่มชาติพ้นธ์ และผู้ที่อยู่ร่วมกับเอชไอวี/เอดส์ทั้งในเมืองและในชนบท